Home Photo

Home Photo
Happy New Year 2019

สวัสดีปีใหม่ค่ะ
กว่าจะมาสวัสดีได้ก็ผ่านไปถึง 15 วันแล้ว
เวลาผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน
แต่เราก็ยังมีอีก 11 เดือนครึ่งที่เหลืออยู่ให้ได้ทำอะไร ๆอย่างที่ใจปรารถนา
ขอส่งความรู้สึกดี ๆ ส่งแรงกายและแรงใจ และความเบิกบานเป็นสุขถึงเพื่อนอ่านทุกคนค่ะ

ลงภาพวาดหมายเลข 5 ซึ่งเป็นภาพเล็กหรือภาพลองวาดในกระทู้ "บทกวีบนแคนวาส"แล้วนะคะ

จัสมิน
15 มกราคม 2562


6.4.57

ฮารูกิ มุราคามิ เขียนถึงตนเอง ลง เดอะนิวยอร์คไทมส์ (งานแปล) / Haruki Murakami writing about himself for The New York Times

เส้นทางอาชีพ ดนตรีแจ๊ส การเขียนนิยาย และสไตล์ของตนเอง

Haruki Murakami


ผมไม่เคยตั้งใจจะเป็นนักเขียนนิยาย
อย่างน้อยก็ไม่เคยคิดจนผมอายุยี่สิบเก้า
นี่เป็นเรื่องจริง


ผมอ่านหนังสือมามากตั้งแต่เด็ก
ผมดำดิ่งลงไปในโลกนิยายที่ผมอ่าน
ถ้าพูดว่าผมไม่อยากเขียนอะไรเลยก็เหมือนโกหก
แต่ผมไม่เชื่อว่าผมมีความสามารถพิเศษที่จะเขียนนิยาย

ตอนวัยรุ่น ผมคลั่งไคล้นักเขียนอย่างดอสโตเยฟสกี้ คาฟกา และบัลซัค
แต่ผมไม่อาจจินตนาการได้ว่าผมจะเขียนสิ่งใดเทียบเท่าผลงานที่พวกเขาทิ้งไว้ให้
ด้วยเหตุนี้ ตอนอายุยังน้อย ผมยอมแพ้ต่อความหวังที่จะเขียนนิยาย

ผมยังคงอ่านหนังสือต่อไปเหมือนงานอดิเรก
แต่ผมตัดสินใจมองไปในทิศทางอื่นเพื่อหารายได้

บนพื้นที่ทางอาชีพ สิ่งที่ผมเลือกคือดนตรี
ผมทำงานหนัก เก็บเงิน ผมยืมเงินจำนวนมากจากเพื่อน ๆ และเหล่าญาติ
หลังออกจากมหาวิทยาลัยได้ไม่นาน ผมเปิดแจ๊สคลับเล็ก ๆ ในกรุงโตเกียว
เราเสิร์ฟกาแฟตอนกลางวัน เสิร์ฟเครื่องดื่มตอนกลางคืน
เรายังมีอาหารพื้น ๆ สองสามอย่าง
เราเปิดแผ่นเสียงอย่างต่อเนื่อง สุดสัปดาห์จะมีนักดนตรีแจ๊สรุ่นใหม่เล่นดนตรีกันสด ๆ
ผมรักษาคลับแห่งนี้เป็นอย่างดีถึงเจ็ดปี
ทำไมหรือ
เหตุผลง่าย ๆ เพียงอย่างเดียว
มันทำให้ผมได้ฟังเพลงแจ๊สตั้งแต่เช้าจนดึก


ห้องเก็บแผ่นเสียงสะสมของมุราคามิ

ผมได้พบปะกับดนตรีแจ๊สในปี ค.ศ. 1964 เวลานั้นผมอายุสิบห้า
อาร์ต บเลคีย์ กับวง แจ๊ส แมสเซนเจอร์ส์ มาแสดงที่โกเบเดือนมกราคมปีนั้น
ผมได้ตั๋วเข้าชมเป็นของขวัญวันเกิด
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้ฟังดนตรีแจ๊ส มันพุ่งเข้าใส่ผม เหมือนผมโดนฟ้าผ่า
วงเล่นดีมาก เวย์น ชอร์เตอร์ เป่า เทเนอร์ แซกซ์
เฟรดดี้ ฮับบาร์ด เป่าทรัมเปตต์
เคอร์ติส ฟูลเลอร์ เป่าทรอมโบน
และอาร์ต บเลคีย์ มือกลองที่หนักแน่นและสร้างสรรค์ เป็นหัวหน้าวง

ปีที่แล้วในบอสตัน ผมได้ทานอาหารเย็นกับ ดานิโล เปเรซ นักเปียโนแจ๊สจากปานามา
พอผมเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟัง เขาหยิบมือถือออกมาแล้วถามว่า
"คุณอยากคุยกับเวย์นมั้ยฮารูกิ"
"แน่นอน" ผมตอบได้แค่นั้นเป็นเพราะผมพูดไม่ออก
เขาโทร.หาเวย์น ชอร์เตอร์ในฟลอริด้า แล้วส่งมือถือให้ผม
ผมบอกเวย์นว่า ผมไม่เคยฟังดนตรีที่น่าตื่นใจมาก่อนตั้งแต่วันนั้นจนวันนี้
ชีวิตเป็นเรื่องแปลก คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้น
สี่สิบสองปีต่อมา ผมอยู่ที่นี่ เขียนนิยาย อาศัยอยู่ในบอสตัน
และคุยกับเวย์น ชอร์เตอร์ทางมือถือ
ผมไม่อาจคาดเดาได้เลย


ตอนผมอายุยี่สิบเก้า อย่างฉับพลันและไม่มีวี่แวว ผมรู้สึกอยากเขียนนิยาย
ผมรู้สึกว่าผมทำได้
แน่นอน ผมไม่สามารถเขียนสิ่งที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับงานของ ดอสโตเยฟสกี้ และบัลซัคได้
แต่ผมบอกตัวเองว่าไม่เป็นไร
ผมไม่ต้องเป็นยักษ์ใหญ่ทางวรรณกรรม
อย่างไรก็ตาม ผมยังไม่พบแนวคิดทางการเขียนนิยาย
หรือผมจะเขียนถึงอะไร
ผมไม่มีประสบการณ์แม้แต่น้อย
นอกจากนี้ ผมยังไม่มีสไตล์พร้อมใช้ให้หยิบฉวย
ผมไม่รู้จักใครที่จะสอนให้ผมเขียน
ไม่มีเพื่อนที่จะคุยกันเรื่องวรรณกรรม
ความคิดเดียวที่ผมมีในเวลานั้นคือ 
จะน่าอัศจรรย์แค่ไหนถ้าผมสามารถเขียนหนังสือเหมือนเล่นเครื่องดนตรี

ตอนเด็ก ๆ ผมเคยหัดเล่นเปียโน ผมอ่านโน้ตได้พอที่จะเล่นเพลงง่าย ๆ
แต่ผมไม่มีเทคนิคที่จำเป็นสำหรับนักดนตรีมืออาชีพ
ในหัวของผม ผมรู้สึกบ่อย ๆ ว่า บางอย่างที่เป็นดนตรีของผมเอง
หมุนวน กระเพื่อมอย่างรุนแรงและเข้มข้น
 ผมตั้งข้อสงสัยว่า จะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะถ่ายโอนดนตรีนั้นผ่านการเขียน
และนี่เป็นจุดที่สไตล์ของผมเริ่มต้นขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือนิยาย พื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือ จังหวะ
สไตล์ต้องมีจังหวะที่ต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ
ไม่อย่างนั้นคนจะหยุดอ่านงานของคุณ
ผมเรียนรู้ความสำคัญของจังหวะจากดนตรี
โดยหลักจากดนตรีแจ๊ส
สิ่งที่ตามมาคือท่วงทำนอง 
ซึ่งในทางวรรณกรรมคือการเรียบเรียงถ้อยคำที่เหมาะสม เข้ากันกับจังหวะ
ถ้าถ้อยคำกับจังหวะลงตัวลื่นไหลงดงาม  ก็ไม่ต้องถามหาสิ่งอื่นใดอืกแล้ว
ต่อไปคือ เสียงประสาน เสียงที่มาจากความรู้สึกข้างในที่สนับสนุนถ้อยคำ
แล้วก็มาถึงส่วนที่ผมชอบที่สุด นั่นคือการเขียนสดอย่างอิสระ
ผ่านช่องทางพิเศษบางช่องทาง เรื่องราวเอ่อไหลอย่างเสรีจากภายใน
สิ่งที่ผมต้องทำคือเข้าไปในการรินไหลนั้น
สุดท้ายก็มาถึงสิ่งที่อาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด 
นั่นคือ ประสบการณ์แห่งความเบิกบานใจเมื่องานเสร็จสิ้นลง
เมื่อการแสดงของคุณได้จบลง
และคุณรู้สึกว่า คุณทำสำเร็จ คุณได้มาถึงสถานที่แห่งใหม่ที่มีความหมายต่อคุณ
ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี คุณจะได้แบ่งปันความอิ่มเอมกับผู้อ่าน(ผู้ชม)ของคุณ

ในทางปฏิบัติ ทุกอย่างที่ผมเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียน ผมเรียนรู้จากดนตรี
สิ่งที่ผมพูดอาจฟังดูประหลาดน่าขัน
แต่ถ้าผมไม่ถูกดนตรีครอบงำ ผมคงไม่ได้เป็นนักเขียนนิยาย
ถึงแม้ว่าขณะนี้ผ่านมาสามสิบกว่าปีแล้ว ผมยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนอย่างมากมายผ่านดนตรีดี ๆ
สไตล์ของผมได้รับอิทธิพลลึกล้ำจากท่อนแยกในเพลงแจ๊สที่เคลื่อนหมุนไปซ้ำ ๆ อย่างอิสระของ 
ชาร์ลี ปาร์คเกอร์
เช่นเดียวกับการด้นสดที่ไหลลื่นอย่างสง่างามของ เอฟ. สก็อตต์ ฟิทเจอร์รัล
และผมยังคงใช้คุณสมบัติในการทำใหม่ทางดนตรีของไมลส์ เดวิส เป็นรูปแบบทางวรรณกรรม

นักเปียโนแจ๊สที่ผมชื่นชมมาตลอดคือ ทีโลเนียส มองค์
ครั้งหนึ่งมีคนถามเขาว่า ทำอย่างไรถึงได้เสียงพิเศษทว่าแน่นอนจากเปียโน
มองค์ชี้ไปที่คีย์บอร์ดแล้วบอกว่า
"ไม่มีโน้ตตัวใหม่หรอก เมื่อคุณมองไปที่คีย์บอร์ด ตัวโน้ตทั้งหมดอยู่ที่นั่นแล้ว
แต่ถ้าคุณให้ความหมายกับโน้ตตัวนั้นมากพอ
มันจะให้เสียงที่แตกต่าง 
คุณต้องเลือกตัวโน้ตที่คุณให้ความหมาย !"

ผมนึกถึงถ้อยคำนี้บ่อย ๆ เมื่อผมเขียน
ผมบอกตัวเองว่า "เป็นจริงอย่างนั้น มันไม่มีคำใหม่ ๆ 
หน้าที่ของเราคือให้ความหมายใหม่ ๆ เพิ่มเติมความหมายที่พิเศษให้กับคำธรรมดา ๆ
ความคิดนี้ทำให้ผมมั่นใจว่า ยังมีหนแห่งกว้างใหญ่ที่ยังไม่รู้จัก 
ที่ยืดขยายได้ ทอดยาวอยู่เบื้องหน้า
อาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์รอให้เราเข้าไปเพาะหว่าน"


*
 มุราคามิเขียนบทความนี้ลงใน เดอะ นิวยอร์ค ไทมส์ หลังออกนวนิยาย "อาฟเดอร์ ดาร์ค" แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย เจย์ รูบิน




พิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2004
ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ออกในปี ค.ศ. 2007


*
(ต้นฉบับ)


ฺWritten by Haruki Murakami 





I never had any intention of becoming a novelist — at least not until I turned 29. This is absolutely true.

I read a lot from the time I was a little kid, and I got so deeply into the worlds of the novels I was reading that it would be a lie if I said I never felt like writing anything. But I never believed I had the talent to write fiction. In my teens I loved writers like Dostoyevsky, Kafka and Balzac, but I never imagined I could write anything that would measure up to the works they left us. And so, at an early age, I simply gave up any hope of writing fiction. I would continue to read books as a hobby, I decided, and look elsewhere for a way to make a living.

The professional area I settled on was music. I worked hard, saved my money, borrowed a lot from friends and relatives, and shortly after leaving the university I opened a little jazz club in Tokyo. We served coffee in the daytime and drinks at night. We also served a few simple dishes. We had records playing constantly, and young musicians performing live jazz on weekends. I kept this up for seven years. Why? For one simple reason: It enabled me to listen to jazz from morning to night.
.
I had my first encounter with jazz in 1964 when I was 15. Art Blakey and the Jazz Messengers performed in Kobe in January that year, and I got a ticket for a birthday present. This was the first time I really listened to jazz, and it bowled me over. I was thunderstruck. The band was just great: Wayne Shorter on tenor sax, Freddie Hubbard on trumpet, Curtis Fuller on trombone and Art Blakey in the lead with his solid, imaginative drumming. I think it was one of the strongest units in jazz history. I had never heard such amazing music, and I was hooked.

A year ago in Boston I had dinner with the Panamanian jazz pianist Danilo Pérez, and when I told him this story, he pulled out his cellphone and asked me, “Would you like to talk to Wayne, Haruki?” “Of course,” I said, practically at a loss for words. He called Wayne Shorter in Florida and handed me the phone. Basically what I said to him was that I had never heard such amazing music before or since. Life is so strange, you never know what’s going to happen. Here I was, 42 years later, writing novels, living in Boston and talking to Wayne Shorter on a cellphone. I never could have imagined it.

When I turned 29, all of a sudden out of nowhere I got this feeling that I wanted to write a novel — that I could do it. I couldn’t write anything that measured up to Dostoyevsky or Balzac, of course, but I told myself it didn’t matter. I didn’t have to become a literary giant. Still, I had no idea how to go about writing a novel or what to write about. I had absolutely no experience, after all, and no ready-made style at my disposal. I didn’t know anyone who could teach me how to do it, or even friends I could talk with about literature. My only thought at that point was how wonderful it would be if I could write like playing an instrument.
I had practiced the piano as a kid, and I could read enough music to pick out a simple melody, but I didn’t have the kind of technique it takes to become a professional musician. Inside my head, though, I did often feel as though something like my own music was swirling around in a rich, strong surge. I wondered if it might be possible for me to transfer that music into writing. That was how my style got started.

Whether in music or in fiction, the most basic thing is rhythm. Your style needs to have good, natural, steady rhythm, or people won’t keep reading your work. I learned the importance of rhythm from music — and mainly from jazz. Next comes melody — which, in literature, means the appropriate arrangement of the words to match the rhythm. If the way the words fit the rhythm is smooth and beautiful, you can’t ask for anything more. Next is harmony — the internal mental sounds that support the words. Then comes the part I like best: free improvisation. Through some special channel, the story comes welling out freely from inside. All I have to do is get into the flow. Finally comes what may be the most important thing: that high you experience upon completing a work — upon ending your “performance” and feeling you have succeeded in reaching a place that is new and meaningful. And if all goes well, you get to share that sense of elevation with your readers (your audience). That is a marvelous culmination that can be achieved in no other way.
Practically everything I know about writing, then, I learned from music. It may sound paradoxical to say so, but if I had not been so obsessed with music, I might not have become a novelist. Even now, almost 30 years later, I continue to learn a great deal about writing from good music. My style is as deeply influenced by Charlie Parker’s repeated freewheeling riffs, say, as by F. Scott Fitzgerald’s elegantly flowing prose. And I still take the quality of continual self-renewal in Miles Davis’s music as a literary model.

One of my all-time favorite jazz pianists is Thelonious Monk. Once, when someone asked him how he managed to get a certain special sound out of the piano, Monk pointed to the keyboard and said: “It can’t be any new note. When you look at the keyboard, all the notes are there already. But if you mean a note enough, it will sound different. You got to pick the notes you really mean!”
I often recall these words when I am writing, and I think to myself, “It’s true. There aren’t any new words. Our job is to give new meanings and special overtones to absolutely ordinary words.” I find the thought reassuring. It means that vast, unknown stretches still lie before us, fertile territories just waiting for us to cultivate them.

*
Haruki Murakami’s most recent book is a novel, “After Dark.” This essay was translated by Jay Rubin.

*







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น