ทำไมเราจึงฝัน
ความฝันในทัศนะของคาร์ล กุสตาฟ จุง (Karl Gustav Jung : ค.ศ.1875 -1967)
Jung เป็นทั้งนักจิตวิทยา และแพทย์ชาวสวิสที่ได้รับอิทธิพลจากฟรอยด์ Jung เห็นว่า
ความฝัน เป็นเรื่องที่เปิดเผยของกิจกรรมทางจิตใจ หรือเป็นความในใจของมนุษย์ ค่อนข้างจะมีลักษณะที่เฉพาะ เข้าใจยาก มักแสดงออกมาเป็นภาพและสัญลักษณ์ จึงต้องมีการแปลความหมายของสัญลักษณ์และตีความ ความหมายที่แฝงมาในความฝันนั้น
Jung แบ่งความฝันออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. ความฝันของบุคคล (Personal Dreams) มาจากจิตไร้สำนึก หรือส่วนลึกของผู้ฝันเป็นสำคัญ เนื้อเรื่องมักโยงกับสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของผู้ฝันเสมอ
2. ความฝันของส่วนรวม (Collective Dreams) มาจากจิตไร้สำนึกรวมของผู้ฝันที่สั่งสมเหตุการณ์ทุกอย่างตั้งแต ่บรรพบุรุษ
หรือบรรพกาล การจะรู้ความหมายต้องอาศัยการสืบสวนและวิเคราะห์ภูมิหลัง เพราะมีสาระเชื่อมโยงกับผู้อื่นด้วย
Jung เชื่อว่า ความฝันเป็นการชดเชยทางจิตใจของผู้ฝัน
ภาพที่ปรากฏเป็นการระบายความเก็บกดทางอ้อม (จากจิตไร้สำนึก) ใช้การ
พูด เขียน วาดภาพ และวิธี Free association เพื่อเข้าใจสัญลักษณ์และภาพฝัน
ต้องตีความภาพฝันให้สัมพันธ์กับลักษณะ ท่าที ความคิด ความเชื่อของผู้ฝัน
สุดท้าย ความฝันเป็นพฤติกรรมสร้างสรรค์จากจิตไร้สำนึก
ตามแนวคิดทางตะวันตก ให้ความสำคัญของความฝันไว้ 4 ประการคือ
1. ฝันที่สะท้อนความจริง ความฝันและความจริงต่างกันอย่างไร ?
นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ท่านเบอร์ทรัล รัสเซล (1982 - 1970) เขียนไว้ว่า
“เป็นไปอย่างชัดเจนว่า ชีวิตยามตื่น เป็นเพียงความไม่ปกติ และฝันร้ายเท่านั้น”
และกล่าวต่อไปว่า
“ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า ข้าพเจ้ากำลังฝันอยู่ในขณะนี้ แต่ข้าพเจ้าก็พิสูจน์ไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ฝัน”
นักปราชญ์ทั้งหลายพยายามจะตอบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเวลาตื่นนั้น ดูเหมือนจะแจ่มชัดและเป็นเหตุเป็นผล
ดังที่นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ เรอ เน เดส์การ์ท (1596 - 1650) กล่าวว่า
“ความจำไม่สามารถจะต่อเนื่องกับความฝันจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเ รื่องหนึ่ง หรือกับชีวิตของเราทั้งหมดได้เลย เหมือนกับที่มันรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเราขณะที่ตื่นอยู่”
หรือที่ รัสเซล กล่าวอย่างขวานผ่าซากว่า
“รูปแบบที่แน่นอนชัดเจน ขณะตื่นนั้น ต่อเมื่อปรากฏในฝัน มันแปรไปได้”
บางสังคมเชื่อว่า ความฝันและความจริงเป็นอันเดียวกัน เขาเชื่อว่า ระหว่างที่เขาหลับ วิญญาณจะออกจากร่าง และเข้าไปอยู่ในโลกของความฝัน และเขารู้ดีว่า จะเป็นอันตรายเพียงใด
หากปลุกคนที่หลับให้ตื่นโดยที่วิญญาณยังไม่กลับมา จึงมีการลงโทษรุนแรงต่อผู้ปลุกคนหลับ
บางสังคมก็พยายามจะทำฝันให้เป็นจริงให้ได้
2. ฝันเพื่อการพยากรณ์ ที่เป็นความเชื่อมาเนิ่นนาน
1. ฝันเพื่อการเยียวยา ในวัฒนธรรมเอเชียกลาง มีบันทึกไว้ในคัมภีร์ของบาบิโลนและอียิปต์ โบสถ์ในกรีกไม่น้อยกว่า 600 แห่งที่ให้การบริการเช่นนี้ ซึ่งจะมีป้ายหินอ่อนแขวนให้เห็นชัดเจน
2. ฝันเพื่อเสริมชีวิตยามตื่น แม้ในยุคแรก ๆ ของประวัติศาสตร์มนุษยชาติก็เชื่อว่า
ฝันเป็นตัวสะท้อนชีวิตยามตื่นของคนเรา สะท้อนประสบการณ์ อารมณ์ และความต้องการออกมา
นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล (384 - 322 ก่อนคริสตกาล) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (1859 - 1934) ก็เชื่อว่า ประสาทสัมผัสทำงานน้อยลงขณะหลับ
แพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ อัลเฟรด มัวรี ได้ศึกษาความฝันของคนถึง 3,๐๐๐ ความฝัน
และสรุปว่า ฝันเกิดจากแรงเร้าภายนอก ประสานกับความประทับใจ
สภาพของความฝัน (State of Dream)
ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่นักคิดทั้งหลายแสดงทัศนะขัดแย้งกันอย่ างหนัก เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องว่า สภาพของความฝันมีความสัมพันธ์อยู่กับสิ่งใด เหตุการณ์ที่ประสบขณะตื่นมีความสัมพันธ์อยู่กับความฝันหรือไม่ ? ประเด็นนี้พอสรุปทัศนะได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. สภาพของความฝันคือความอิสระ
ความฝันมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้เราเป็นอิสระจากการดำเนินชีวิ ตประจำวันเหล่านั้น
เพราะในชีวิตประจำวัน สมองเราถูกอัดแน่นด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งอาจประสบกับความเสียใจอย่างสุดซึ้ง หรือไม่ก็ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบ แต่ในฝันเราไม่ต้องทำอะไร
นอกจากเดินไปสู่ความสุขสมบูรณ์แห่งอารมณ์…
Burdach กล่าวว่า
ความฝันช่วยเคลื่อนย้ายเราไปให้หลุดพ้นจากโลกของวิญญาณที่กำลัง ตื่น ในความฝัน
ความทรงจำของเราจะดับหายไป ใจของเราเกือบไม่มีความทรงจำ
เนื่องจากถูกตัดขาดไปจากเนื้อหาสาระและเรื่องราวของชีวิตที่กำลังตื่น ซึ่งเป็นของธรรมดา
2. สภาพของความฝันสัมพันธ์อยู่กับเรื่องราวขณะตื่น
ความฝันคือตัวการที่สืบต่อชีวิตที่กำลังตื่น ความฝันของเราสัมพันธ์อย่างแน่นอนอยู่กับความคิด
ที่ฝังแน่นอยู่ในวิญญาณของเรามาก่อน ความฝันจึงไม่ใช่ตัวผลักดันให้เราเป็นอิสระจากชีวิตธรรมดาสามัญ นั่นหรอก แต่ความฝันคือตัวผลักดันให้เรากลับเข้าหาชีวิตเหล่านั้นต่างหาก เล่า
การตั้งคำถาม "ทำไมเราจึงฝัน" ทำให้อยู่ไม่ติด ต้องหาคำตอบ การค้นหาคำตอบทำให้ได้พบทฤษฎีของ ดร.คาร์ จุง และ "สัญลักษณ์ทั้งเจ็ด" บอกได้คำเดียวว่าตื่นใจ และจะนำมาลงในคราวต่อไปสำหรับผู้ที่สนใจอยากอ่านค่ะ
2. สัญลักษณ์ทั้งเจ็ด รูปแบบแรกเริ่มของความฝัน โดย คาร์ล กุสตาฟ จุง
บทความครั้งที่แล้วเกิดจากการตั้งคำถาม “ทำไมเราจึงฝัน” ข้าพเจ้าเริ่มศึกษาทฤษฏีเกี่ยวกับความฝันของ ซิกมุนต์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ศาสตร์ แกนความคิดหลักจากหนังสือของเขา “การตีความความฝัน (The Interpretation of Dream)” ซึ่งนำพาข้าพเจ้ามาทำความคุ้นเคยกับทฤษฎีของ คาร์ล กุสตาฟ จุง นักจิตวิทยาและแพทย์ชาวสวิส (1875-1967) เกินกว่าการรู้จักกันอย่างผิวเผินที่ผ่านมา
จุงเป็นศิบย์เอกของฟรอยด์ เขาเชื่อว่าความฝันเป็นการชดเชยทางอารมณ์เช่นกันกับฟรอยด์ แต่ไม่เห็นด้วยว่ามาจากแรงผลักในเรื่องเพศเท่านั้น จุงเชื่อว่า การช่วยเหลือของจิตใต้สำนึกผ่านค วามฝันมาจากความปรารถนาหลายหลา กของคนเรา บ่อยครั้ง ความฝันยังทำหน้าที่บอกกล่าวผู้ฝันถึงความปรารถนาที่คนฝันเองก็ ยังไม่รู้ หรือเก็บกดไว้จนลืมเลือนไป
ทฤษฏีความฝันของคาร์ล จุง บ่งชี้ว่า “ความฝันเป็นการชดเชยจิตใจ (Compensation Function) เพื่อให้เกิดภาวะของจิตใจที่สมบูรณ์”
ที่นี้เราก็มาถึงเนื้อหาที่ทำให้ข้าพเจ้าตื่นใจที่สุด "สัญลักษณ์ทั้งเจ็ด"
จุงบันทึกสัญลักษณ์ที่แน่นอนของความฝัน มีความหมายเป็นสากลใช้ได้กับทั้งหญิงและชายซึ่งเขาเรียกว่า “จิตไร้สำนึกสะสม” (collective unconscious) ในขณะที่ความฝันเป็นเอกเทศ ประสบการณ์ส่วนบุคคลมักสัมผัสสัญลักษณ์และแก่นสารที่เหมือนๆกัน แม้ในผู้คนที่มีความแตกต่างทางขนบธรรมเนียมประเพณี ความคิด ความเชื่อและความศรัทธา
จุงระบุสัญลักษณ์เจ็ดชนิดที่เป็นลักษณะแรกเริ่มหลักของความฝันไ ว้ดังนี้
1. ตัวตนสาธารณะ (The Persona) ความเป็นตนที่สร้างขึ้น คือภาพที่เราแสดงต่อโลกในขณะตื่น เป็นหน้ากากสาธารณะ
ในโลกของความฝัน ความเป็นตนถูกแทนด้วยคำว่า Self ซึ่งอาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนตัวจริงของเราทั้งด้านกายภาพหรือพ ฤติกรรม
ตัวตนของเราในฝันอาจทำหรือไม่ทำสิ่งที่เราจะทำ ตัวตนสาธารณะอาจปรากฏในรูปของหุ่นไล่กาหรือขอทานในความฝัน แต่เรารู้ว่า ตัวตนในความฝันนั่นคือตัวเราเอง
2. เงา (The Shadow) คือตัวเราที่ถูกเราปฏิเสธหรือถูกเก็บกักกดเอาไว้ เป็นส่วนของตัวเราที่เราไม่ต้องการให้โลกเห็นเพราะมันสกปรก ไม่น่าดู เป็นตัวแทนของความอ่อนแอ ความกลัว หรือ ความโกรธ
ในความฝัน เงาจะปรากฏเป็นผู้สะกดรอย ฆาตกร อันธพาล ผู้บุกรุก หรืออาจแทนด้วยรูปร่างลักษณะที่น่ากลัว หรือเป็นเพื่อนหรือญาติ
บุคคลในฝันเหล่านี้บีบบังคับให้เราต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เราไ ม่อยากพบเจอ ไม่อยากเห็น ไม่อยากได้ยิน เพื่อให้คนที่ฝันต้องพยายามเรียนรู้ที่จะยอมรับส่วนที่เป็นเงาข องเรา ข่าวสารที่มากับฝันก็เพื่อประโยชน์ของเราเอง ถึงแม้ความหมายหรือการจัดการของจิตไร้สำนึกจะไม่แจ่มแจ้งชัดเจน อย่างทันทีทันใด
3. ความเป็นอีกเพศที่แฝงอยู่ (The Anima/Animus) เรามีความเป็นเพศตรงข้ามแฝงอยู่ในตัว ความเป็นหญิงในชาย และ ความเป็นชายในหญิง
ในความฝัน เรากลับกลายเป็นอีกเพศหนึ่ง ภาพที่ปรากฏขึ้นในความฝันขึ้นอยู่กับความสามารถของเราที่จะผสมผ สานคุณลักษณะของความเป็นหญิงเป็นชายในตัวเราได้ดีเพียงใด
ความฝันชนิดนี้เตือนเราให้เรียนรู้และรับรู้เพื่อเราจะแสดงออกซึ่งความเป็นชายหรือความเป็นหญิงได้อย่างเหมาะสมพอดี
4. เด็กน้อยผู้สูงส่ง (The Divine Child) ตัวตนแท้จริงของเราในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด เด็กน้อยผู้สูงส่งไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ของความไร้เดียงสา ความรู้สึกเปราะบาง และการช่วยเหลือตนเองไม่ได้ของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แทนความปรารถนาและศักยภาพเต็มเปี่ยม เปิดเผยต่อเราว่าทุกอย่างเป็นไปได้ ในความฝันจะปรากฏในร่างเด็กทารกหรือเด็กเล็ก
5. คนชราผู้ฉลาด (The Wise Old Man /Woman) คือผู้ช่วยในความฝันของเรา ถูกแทนด้วยครู พ่อ หมอ นักบวช หรือผู้มีอำนาจที่เราไม่รู้จัก เขาเหล่านี้มานำทางหรือให้คำแนะนำอย่างฉลาด พวกเขาปรากฏในความฝันเพื่อประคับประคองและนำเราไปในทิศทางที่ถู กต้อง
6. แม่ผู้ยิ่งใหญ่ (The Great Mother) ผู้เลี้ยงดู ผู้ดูแล อาจปรากฏในความฝันเป็นแม่ของเราเอง ยาย ย่า หรือผู้ดูแลอื่นๆ เขาเหล่านี้จะให้คำยืนยันในทางบวก แต่ในทางตรงกันข้าม ลักษณะเหล่านี้อาจปรากฏในร่างแม่มดหรือหญิงชรา บางครั้งอาจเกี่ยวโยงกับการยั่วยวน การครอบครองและความตาย การไล่เรียงนี้มาจากความเชื่อที่ว่า แม่ผู้ให้กำเนิด ผู้ให้ชีวิตแท้จริง มีความหวงที่ลูกเติบโตออกไปจากตัวเธอ
7. นักมายากล (The Trickster) จะเล่นตลกให้เราลดความเคร่งเครียดจริงจังที่มีมากเกินไป พวกเขาจะปรากฏในฝันเมื่อเราล้มเหลว หรือตัดสินสถานการณ์ผิด หรือเมื่อเรายังไม่แน่ใจต่อการตัดสินใจในบางเรื่อง หรือเมื่อเราเกิดคำถามว่าจะนำพาชีวิตไปในทางใด นักเล่นกลมักทำให้เราอึดอัดหรือกระดากอาย บางครั้งจะเย้าแหย่ ล้อเลียนหรือเปิดเผยความอ่อนแอของเรา เขาอาจมาในรูปร่างบางๆเบาๆ และบางครั้งจะเปลี่ยนรูปร่างไปหลากหลายรูปแบบ
ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์นี้ สัญลักษณ์ทั้งเจ็ดล้ วนเป็นสิ่งที่มาช่วยเหลือเราผู้ฝันในทางใดท างหนึ่งเสมอ ไม่ว่าจะเป็นฝันร้ายหรือฝันดี นั่นคือการหาสมดุลในจิตใจ เติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปและขจัดความเกินพอดี
ความฝันคือการช่วยเหลือของจิตไร้สำนึก สนับสนุนเราให้ทำความรู้จักกับตนเองในทุกๆด้าน แม้แต่ด้านที่เราปฏิเสธ ปิดหูปิดตาไม่อยากทำความรู้จัก ไม่อยากรับรู้
ความฝันเป็นทั้งการปลุกปลอบ การกำราบ คำปรึกษา ติติง ยั่วเย้า เหยียดหยามดูหมิ่น ให้กำลังใจ
ด้วยความช่วยเหลือของจิตไร้สำนึกของเรา เราได้ทำความรู้จักกับตัวเราในแง่มุมที่ตัวตนสาธารณะเข้าไม่ถึง เพราะข้อกำหนดกฎเกณฑ์นานาประการ
ความฝันมอบเสรีภาพผ่านจิตไร้สำนึกให้เรามองดู มองเห็นเพื่อทำความเข้าใจและยอมรับตัวเราและเหตุการณ์ที่เกิดขึ ้นในความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสมพอดี
ดังนั้นคำว่า ราตรีสวัสดิ์ ขอให้ฝันดี จึงเป็นคำที่มีความหมายแฝงเร้นที่ดีอย่างเต็มรูปแบบโดยเราไม่ต้ องตัดคำสุดท้ายออกไป และคำพูดที่ว่า ฝันร้ายกลายเป็นดี ก็เป็นเสมือนการบอกกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า ไม่มีฝันใดที่ไม่ดี
“ขอให้ฝัน”กันทุกคนนะคะ
*
3. เมื่อเงาร่ายรำ The Shadow Dance
by Carl Jung
ตั้งแต่ได้ทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ทั้งเจ็ดของ คาร์ล จุง ข้าพเจ้าปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายิ่งรู้ยิ่งอยากค้นคว้าหาความรู้ที่ เกี่ยวกับสัญลักษณ์เหล่านี้ และสัญลักษณ์หนึ่งที่น่าสนใจคือ เงา (The Shadow) ความเป็นตัวเราที่เราปฏิเสธหรือถูกกักเก็บซ่อนเอาไว้ เป็นส่วนลบของตัวเราที่เราไม่ต้องการให้โลกเห็น เป็นตัวแทนของความอ่อนแอ ความกลัว หรือ ความโกรธ
ในความฝัน “เงา” จะถูกแทนด้วยผู้สะกดรอย ฆาตกร อันธพาล ผู้บุกรุก หรือแทนด้วยรูปร่างลักษณะที่น่ากลัว หรือเป็นเพื่อนหรือญาติที่บีบบังคับให้เราเผชิญหน้ากับสิ่งที่เ ราไม่อยากเห็น ไม่อยากได้ยิน ซึ่งหมายถึงตัวตนด้านลบของเรานั่นเอง
ข้าพเจ้าค้นหาเรื่องราวภายใต้ชื่อของ คาร์ล จุง และได้พบเรื่องราวของ “เงา” ที่ใช้อธิบาย “สัมพันธภาพ” เรื่องราวที่อ่านนี้มีชื่อว่า “เมื่อเงาร่ายรำ” ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจรูปแบบในสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเ ล่า
สัมพันธภาพที่ดีคืออะไร? การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข การได้รับความรัก ความจริงใจ การสนับสนุน อย่างนั้นหรือ ? แน่นอนที่สิ่งเหล่านี้คือความพิสุทธิ์ อุดมคติที่เราแสวงหา แต่ไม่ว่าเราจะพยายามอย่างไรก็ดูเหมือนเราจะพบเจอปัญหาและสถานก ารณ์ที่ทำให้เรางุนงง ที่แปลกก็คือปัญหาและสถานการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ
ถ้าเราทบทวน เราอาจพบว่าคนที่เราตกหลุมรักเมื่ออายุยี่สิบ เมื่ออายุสามสิบอาจเป็นคน ๆ เดียวกัน หรือคนที่คล้ายคลึงกัน ดูเหมือนคนเหล่านี้จะกลับมาในชีวิตของเราแม้ในฐานะอื่น เช่นเพื่อนร่วมงาน เพื่อน หรือนาย ถึงแม้ว่าเราจะละทิ้งไปหรือพยายามห่างจากคนเหล่านั้น เราก็จะพบคนชนิดที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงอยู่เรื่อย ๆ
เราลาจากสัมพันธภาพหนึ่งสู่สัมพันธภาพใหม่ เราอาจออกจากงาน เลิกคบหาเพื่อน เราสามารถกล่าวโทษคนเหล่านั้นสำหรับประสบการณ์ย่ำแย่ได้ไม่มีที ่สิ้นสุด แต่หากเรากล้าพอ เราจะเฝ้ามอง พิจารณา ใคร่ครวญ ในฐานะที่คนเหล่านั้นมีด้านลบหรือมีส่วนที่เป็น“เงา̶ 1;ของเราเอง
The Shadow เงา ของ ดร.คาร์ล จุง คือทุกอย่างที่เราไม่รับรู้ ถูกกดข่มไว้ ไม่พัฒนา และถูกปฏิเสธ เป็นด้านมืดของเราเช่นเดียวกับด้านสว่าง ดังนั้น เงา จึงมีศักยภาพที่จะได้รับการพัฒนา เราไม่อาจรู้ ไม่รู้เพราะมันถูกกันไว้นอกจิตสำนึก
เราทุกคนมีด้านมืดและการเผชิญหน้ากับเงาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให ้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น เราจะไม่รู้จักตัวเราอย่างแท้จริงหากเราไม่ทำความรู้จักกับ The Shadow ผ่านสายตาของคนอื่น รวมทั้งการมอง “เงา” ของเราที่อยู่ในตัวของคนอื่นอีกด้วย
เราทุกคนไม่อาจหลีกหนีประสบการณ์ที่เลวร้ายเจ็บปวดซึ่งเรามักโท ษคนอื่น แต่เมื่อใดที่เรายอมรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา เราก็สามารถเรียนรู้และเติบโตจากประสบการณ์และสร้างทางเลือกใหม ่ ๆ เพื่อตัวเราเอง
การเปลี่ยนทัศนคติจากการกล่าวโทษเป็นความรับผิดชอบจะเปลี่ยนสิ่ งที่เกิดขึ้นในโลกของเรา
เราต่างมีประสบการณ์กับคนอื่น ๆ ที่ระคายความรู้สึก เมื่อใดที่เราแสดงความรู้สึกอย่างรุนแรง เมื่อนั้นเรากำลังพบกับ”เงา”ของเราแล้ว การตอบสนองต่อสิ่งที่เราไม่ชอบอย่างรุนแรงต่อบุคลิกลักษณะอุปนิ สัยหรือคุณสมบัติที่เรารังเกียจของคนอื่น ๆ นั่นคือด้านมืดของเราที่เราไม่รู้จักมาก่อน เงาอยู่ในจิตไร้สำนึกที่ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราเชื่ อว่าเป็นตัวตนเราจริง ๆ
เราจะถูกดึงดูด เราอาจตกหลุมรักคนที่มีด้านมืดของเราแต่กลับเป็นด้านสว่าง ด้านเปิดเผยของเขา ด้าน”งดงาม”ของด้านมืดของเรา เราเห็นคุณค่า คุณสมบัติในทางบวกของเราผ่านคนที่เราชื่นชม เป็นวิถีทางทางจิตที่จะนำความมืดสู่ความสว่างหมายถึงความสว่างแ ห่งการตระหนักรู้ซึ่งตัวตน
การยอมรับคือกลไกขับเคลื่อนทางจิตวิทยา เราเห็นส่วนหนึ่งของตัวเราเองผ่านคนอื่น ส่วนที่เหมือนเรานั้นไม่ได้เป็นของเรา เป็นส่วนที่เราปฏิเสธ ดังนั้นเราจะไม่อธิบายตัวเราเองกับบุคลิกลักษณะ หรือคุณสมบัติเหล่านั้น มันทำให้เรารู้สึกปลอดภัย
แต่เพราะคน ๆ นั้นมี ”เงา” ส่วนหนึ่งของเรา เราจึงพบว่าบางครั้งเรารู้สึกลำบากใจที่จะอยู่ใกล้ด้านลบของตัว เราเอง เราจะไม่พึงพอใจคน ๆ นั้นและจุดยืนของเขาหรือเธอ เราจะรู้สึกว่าคน ๆนั้นหรือคนเหล่านั้นมีหลักการ คุณค่าทางศีลธรรม หรือ ความคิด ตรงข้ามกับเราอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นเราจึงติติงการกระทำหรือตัวตนของเขาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
สังเกตคนที่เข้ามาในชีวิตแล้วทำให้เรารู้สึกถูกก่อกวนหรือทำให้ เราสูญเสียการควบคุมอารมณ์ สิ่งนี้ซ่อนอยู่ในจิตไร้สำนึกของเรา เราไม่รู้หรอกว่าเรากำลังมองส่วนหนึ่งของ “เงา” ของตัวเรา และถ้าสิ่งที่เห็นเป็นเงาของเราจริง ๆ เราจะเข้าใจว่าทำไมสิ่งเหล่านี้จึงมีรูปแบบที่ซ้ำซาก
ความไม่พึงพอใจต่อ “เงา”ของเราในจิตไร้สำนึกที่ล้ำลึกจะเหมือนแม่เหล็ กที่ดึงดูดให้เกิดเหตุการณ์เดิม ๆ และคนแบบเดิมมาครั้งแล้วครั้งเล่า นักวิเคราะห์เรียกคนที่ถูกดึงดูดว่า “การเกี่ยวติดที่ดี” (a good hook)
ดร.จุงเชื่อว่า สิ่งที่เราใช้อธิบายตัวตนของเรา และสิ่งตรงข้ามอย่างสุดโต่งที่ถูกเก็บกดไว้ ในจิตไร้สำนึก เขาเรียกสิ่งนี้ว่า กฎแห่งความตรงกันข้าม ดังนั้นโดยไม่รู้ตัว เราจะดึงดูดส่วนหนึ่งของเรา ส่วนที่เราไม่ต้องการ โดยที่เราไม่รู้ตัว
สังเกตความสุดโต่งระหว่างตัวเรากับอีกคนหนึ่ง ดูว่ามันเกิดขึ้นบ่อยแต่ไหน ถ้าเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็เท่ากับว่า เราไม่สามารถควบคุมมันได้
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อุบัติเหตุ คนสองคนดึงดูดกันหรือผลักไสกัน ดร.จุงมุ่งสู่ การรวมกันเป็นหนึ่ง (wholeness) ซึ่งก็คือความสมดุลนั่นเอง
เรามีกลางวัน เรามีกลางคืน มีใครในพวกเราหรือที่ไม่ชอบเวลากลางคืน
ความปรารถนาของเราคือจินตนาการก่อนเป็นความจริง ดังนั้นฝันกันหน่อย (คาร์ล จุง)
แปลและรวบรวมมาเขียนด้วยภาษาของตนเองค่ะ