Promenade by Marc Chagall (1917)
ชากัลติดอยู่ในรัสเซียถึงแปดปีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เขาพูดถึงช่วงเวลานี้เสมอว่าเป็นการถอยหลังในอาชีพจิตรกร โดยเมินเฉยต่อความเป็นจริงที่ว่าช่วงเวลานี้เขาได้พัฒนาไปมากทั้งด้านศิลปะและชีวิตส่วนตัว
ในปี 1914
มีไม่กี่คนเท่านั้นที่คาดว่าสงครามจะยืดเยื้อ
คนส่วนใหญ่มั่นใจว่าสงครามครั้งนี้จะสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็ว ชากัลตั้งใจมุ่งมั่นว่าจะไม่ยอมเป็นทหารในกองทัพรัสเซีย
คนส่วนใหญ่มั่นใจว่าสงครามครั้งนี้จะสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็ว ชากัลตั้งใจมุ่งมั่นว่าจะไม่ยอมเป็นทหารในกองทัพรัสเซีย
อพอลลิแนร์
เพื่อนสนิทลงชื่ออาสาออกสู่แนวหน้าตั้งแต่วันแรกของการขัดแย้ง
แต่ชากัลไม่ได้มีความรู้สึกร่วมเยี่ยงผู้รักชาติด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนัก
หลายร้อยปีมาแล้วที่จักรวรรดิ์รัสเซียปฎิบัติต่อชาวยิวเยี่ยงพลเมืองชั้นสอง
และเลวร้ายลงมากในศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบ
เขาเห็นว่าการจับอาวุธเพื่อสนับสนุนอาณาจักรนี้เป็นเรื่องบ้า คนมีร่างกายบอบบาง
มีมรรยาททางสังคมและการศึกษากว้างขวางอย่างเขาไม่ได้ถูกสร้างมาให้ใช้ชีวิตสมบุกสมบันในการรบ
คนยิวไม่อาจเป็นผู้บังคับการ และต้องยินยอมพร้อมรับการถูกปฎิบัติต่ออย่างเลวร้ายและถูกแบ่งแยกจากเพื่อนทหารและผู้บังคับบัญชา
คนยิวไม่อาจเป็นผู้บังคับการ และต้องยินยอมพร้อมรับการถูกปฎิบัติต่ออย่างเลวร้ายและถูกแบ่งแยกจากเพื่อนทหารและผู้บังคับบัญชา
ชากัลอาศัยอยู่ในเมืองวิทเอ็บสค์และหวังว่าสงครามจะผ่านไป
ในปี 1915 เขาแต่งงานกับเบลล่า โรเซ็นฟีลด์แม้พ่อแม่ผู้มีฐานะของเธอต่อต้าน
สัมพันธภาพได้รับการสมานฉันท์หลังการเกิดของเอ
ดาลูกสาว
ดาลูกสาว
Bella with white collar (เขาวาดเบลล่าตัวใหญ่ ส่วนเขาตัวเล็กนิดเดียว เห็นแล้วรับสารได้ชัดเจน)
งานศิลป์ที่ออกมาในช่วงนี้เป็นแบบคิวบิสท์และเอ็กเพรสชั่นนิสท์
สงครามยืดยาวออกไปเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตสูงขึ้นมาก
ในปี 1915 ยาคอฟ
โรเซ็นเฟลด์พี่เขยหางานเสมียนให้ทำที่กระทรวงสงครามในเซนต์ปีเตอร์สเบอร์กซึ่งทำให้เขาพ้นจากการเป็นทหาร
เมืองหลวงไม่เอื้อต่อการสร้างงานศิลป์
ในช่วงขาดแรงบันดาลใจและต้องทำงานประจำวุ่นวายน่าเบื่อหน่ายนี้ เขาวาดภาพน้อยลง
แต่ในช่วงนี้เองที่เขาได้ติดตามการพัฒนาทางศิลปะในรัสเซีย
ได้คุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวของพรีมีทิวิสม์และทดลองในภาพ
The Feast at the Tabernacle (1916)
กระนั้นเขาปฎิเสธแนวทางนี้เพราะขัดกับแนวคิดทางศิลปะของเขา
ในปี 1917 เกิดการปฎิวัติบอลเชวิคในรัสเซีย
ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในหมู่ชาวยิวที่มีการศึกษา
พวกเขาเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงนี้นำมาซึ่งระบบการเมืองใหม่
พวกเขาเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงนี้นำมาซึ่งระบบการเมืองใหม่
พรรคคอมมิวนิสต์ยืนยันว่า ชาวยิวจะมีสถานะเท่าเทียมภายใต้กฏหมายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัสเซีย
อนาคตดูสดใส มั่งคั่งและไร้ซึ่งความกังวล
อนาคตดูสดใส มั่งคั่งและไร้ซึ่งความกังวล
ภายใต่รัฐบาลใหม่ อนาโทลีย์ ลูนาชาร์สกี้ นักวิจารณ์ศิลปะและนักหนังสือพิมพ์ที่ชากัลสนิทสนมในปารีส
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยงานการศึกษาที่ทำให้เขารับผิดชอบทุกสิ่งที่เกี่ยวกับศิลปะ
การศึกษาและวัฒนธรรมในสหราชอาณาจักรรัสเซีย
ลูนาชาร์สกี้เสนอตำแหน่งผู้ดูแลศิลปะในวิทเอ็บสค์ ซึ่งชากัลตอบรับด้วยความยินดี
ชากัลไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
ภาพวาดของเขาไม่เคยเกี่ยวข้องกับการเมือง หากเน้นชีวิตวันต่อวันอย่างเคร่งครัด
เราจึงไม่อาจรู้ว่าเพราะเหตุใด ลูนาชาร์สกี้ถึงได้เลือกชากัล
ปี 1918 ชากัลกลับวิทเอ็บสค์ในฤดูใบไม้ผลิ
เพื่อทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
เขาจัดการแสดงภาพ เปิดพิพิธภัณฑ์และห้องแสดงภาพ
เยฮูดา เพน ครูวาดเขียนคนแรกของชากัล
ได้เปลี่ยนโรงเรียนของเขาเป็น”สำนักแห่งศิลปะ”โดยมีชากัลเป็นผู้อำนวยการ
ต่อมาศิลปินผู้ป็นที่ยอมรับก็เริ่มเข้ามาสอนเพราะนับถือยูริ เพนและชากัล
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือในเวลานั้นเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กกำลังแร้นแค้นขาดอาหาร
ไม่มั่นคงเท่าวิทเอ็บสค์
ต่อมาสำนักศิลปะแห่งวิทเอ็บสค์นี้กลายเป็นศูนย์กลางทางศิลปะที่ทรงอิทธิพลในรัสเซียและอาจพูดได้ว่าของโลก
ที่จริงแล้ว
ชากัลใส่ใจและสนใจทำงานศิลปะของเขามากกว่าจัดการเรื่องการศึกษาและทฤษฎีทางศิลปะ
ศิลปินลัทธิซุพรีมเมซิสท์(Supremacist) ใช้ความได้เปรียบนี้เพื่อส่งเสริมและกำหนดแนวทางของพวกเขาที่สำนักศิลปะที่ก่อตั้งโดยยูริ เพน
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่งผลให้ชากัลลาออกในปี
1920 แล้วเดินทางไปมอสโคว์กับครอบครัว
ถึงแม้ว่าแนวทางซุพรีมเมทิสท์ส่งอิทธิพลต่อชากัลเช่นในภาพวาดสองภาพข้างล่าง
The Stable Night: A Man with whip (1917)
และ
Composition with circles and goat (1920)
แต่เขาก็ไม่โอบรับทฤษฎีนี้ที่เป็นนามธรรมเต็มรูปแบบ
งานของชากัลมีพื้นฐานจากความเป็นจริงของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเขาจะใช้แนวทางใดในการวาด
เขาหันมาสนใจศิลปะเรแนสซองซ์ที่เขาเขียนอ้างอิงถึงบ่อยๆ
จัดองค์ประกอบภาพตามธรรมเนียมปฏิบัติของพวกเขา
แต่ไม่ใช้ธรรมเนียมปฎิบัติทางวิธีการและสัญลักษณ์
อย่างภาพ Promenade (1917) ข้างบนสุด
ชากัลอยู่อย่างลำบากในมอสโคว์ เขาไม่มีตำแหน่งใด และเมื่องานของเขาไม่ได้ส่งสารเกี่ยวกับการเมือง เขาจึงไม่มีโอกาสได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
ชากัลจึงไปทำงานกับโรงละครของชาวยิว Gosudarstvenniy Evreiskiy Kamerniy Teatr
เขาออกแบบตกแต่งเวที วาดฉาก และสอนวาดเขียนที่โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า
ปีแรกหลังการปฏิวัติ ผู้มีอำนาจของรัสเซียค่อนข้างให้เสรีทางศิลปะ
ด้วยเห็นว่าศิลปะคือการให้ความสว่างทางปัญญาและเป็นหนทางโฆษณาชวนเชื่อ แต่ไม่ช้าศิลปินก็ถูกขอให้วาดตามความคิดของพรรค งานสร้างสรรค์อย่างอิสระของชากัลจึงหลุดออกจากระบบใหม่โดยสิ้นเชิง
เลนินประนามศิลปะสมัยใหม่ทุกประเภทว่าคนธรรมดาเข้าไม่ถึง
โซเชียล เรียลลิสม์ (Social Realism) ถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบของสาธารณรัฐ
ทำให้โลกทางศิลปะของศิลปินรัสเซียถูกตีกรอบ
คับแคบสำหรับชากัลและเพื่อนศิลปินแบบซุปรีมเมทิสท์และพรีมิทิวิสท์
ปี 1922 ชากัลยื่นขออนุญาตออกนอกประเทศผ่านลูนาซินสกี้
เขาได้รับอนุญาตและเดินทางไปเบอร์ลิน โดยหวังจะได้พบเฮอร์วาร์ด วอลเดน
เขาอยากรู้ว่าถาพวาดที่ออกแสดงเป็นอย่างไร
ต่อจากนั้นอีกเกือบห้าสิบเอ็ดปี เขาจึงได้กลับรัสเซีย
คับแคบสำหรับชากัลและเพื่อนศิลปินแบบซุปรีมเมทิสท์และพรีมิทิวิสท์
ปี 1922 ชากัลยื่นขออนุญาตออกนอกประเทศผ่านลูนาซินสกี้
เขาได้รับอนุญาตและเดินทางไปเบอร์ลิน โดยหวังจะได้พบเฮอร์วาร์ด วอลเดน
เขาอยากรู้ว่าถาพวาดที่ออกแสดงเป็นอย่างไร
ต่อจากนั้นอีกเกือบห้าสิบเอ็ดปี เขาจึงได้กลับรัสเซีย
*
ติดตามตอนต่อไปค่ะ
*
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น